วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

6) การประยุกต์ใช้งาน

                6.1) การวัดแรงดัน
                เมื่อนำเอาออสซิลโลสโคปไปใช้วัดแรงดัน วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การวัดค่าแรงดันจากยอดถึงยอด (Peak-to-Peak eP-P) และอาศัยความสัมพันธ์ที่แน่นอน จะสามารถคำนวณกลับมาเป็นค่าเฉลี่ยหรือค่าประสิทธิผลได้ โดยการป้อนสัญญาณที่ต้องการวัดเข้าที่อินพุตแนวตั้ง และ (ในกรณีนี้) อาศัยโพรบแบบ 10 : 1 โดยการปรับความไว อัตราสวีป และปุ่มควบคุมการทริกที่เหมาะสม จะเกิดภาพของสัญญาณที่นิ่ง และควรมีขนาดใหญ่เต็มจอให้มากเท่าที่จะทำได้ ค่าแรงดันจากยอดถึงยอดจะมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างความไวของวงจรขยายตามแนวตั้ง จำนวนช่องที่อ่านได้จากจอ กับการลดทอนของโพรบสำหรับสัญญาณ ที่แสดงในรูปที่ 15
                VP-P  =   จำนวนช่อง x ความไวตามแนวตั้ง x การลดทอนของสายต่อวัด
                        =   (4.8 DIV) (0.01 V/DIV) (10)
                        =   0.48  V
                สำหรับคลื่นรูปซายน์
                Vrms =  VP-P /2.828  =  0.48/2.828  =       0.1697  Vrms
                6.2) การวัดความถี่
                ในการวัดค่าความถี่โดยการเปรียบเทียบ ทำได้โดยต่อวงจรดังรูปที่ 16 สัญญาณที่เรารู้ค่าความถี่จะต่อเข้ากับขั้วทางแนวนอน ขณะที่สัญญาณที่ไม่รู้ค่าความถี่ จะต่อเข้ากับขั้วเข้าทางแนวตั้ง ในการวัด เราจะบิดปุ่มการกวาดภาพ (time/div) ไปจนตำแหน่ง off เพื่อให้ออสซิลโลสโคปทำงานอยู่ในโหมดของ X-Y (ปรกติจะทำงานในโหมด X-t)
                เมื่อป้อนสัญญาณเข้าตามรูปที่ 16 แล้ว เราจะได้รูปคลื่นหยุดนิ่งบนจอหลอดภาพ ดังแสดงในรูปที่ 17 (ในกรณีที่รูปคลื่นไม่หยุดนิ่ง แสดงวัดสัดส่วนความถี่ของสัญญาณไม่ได้เป็นไปตามรูป เราอาจต้องปรับค่าความถี่รู้ค่า จนได้สัดส่วนตามต้องการ รูปคลื่นก็จะหยุดนิ่ง) เมื่อรูปคลื่นหยุดนิ่ง เราสามารถหาความถี่ของสัญญาณแนวตั้งจากสูตร

                                                fv             =             (th/tv)fh
ทั้งนี้       fv คือ ความถี่ป้อนเข้าทางแกนตั้ง
                Fh คือ ความถี่ป้อนเข้าทางแกนนอน
                tn คือ จำนวนครั้งที่รูปสัมผัสแกนนอน

                tv คือ จำนวนครั้งที่รูปสัมผัสกับแกนตั้ง
                 6.3) การวัดเฟส
                ก) แบบใช้ออสซิลโลสโคปแบบกวาด 2 เส้น
                รูปที่ 18 แสดงการต่อวงจร เพื่อวัดเฟสที่เกิดขึ้นจากวงจรขยายในรูป
                รูปคลื่นที่ปรากฏบนจอหลอดภาพ CRT จะเป็นดังรูปที่ 19 จากรูปคลื่นสัญญาณที่ได้ เราจะสามารถนำไปคำนวณหาค่าเฟสที่เกิดขึ้นได้
                ในรูปที่ 8.27 (ก) เป็นการปรับ time/div เพื่อให้สามารถวัดค่าคาบของรูปคลื่นได้ ขณะเดียวกันถ้าต้องการวัดความแตกต่างของเวลา (Td) ระหว่างลูกคลื่น จำเป็นต้องปรับ time/div ให้ย่อยขึ้น เพื่อให้อ่านค่าได้ จากค่าที่อ่านบนจอหลอดภาพ จะสามารถนำไปคำนวณหาเฟสได้ดังนี้
                                เฟสที่เกิด (องศา)  =  Td/ T x 360­­­­­o
แต่ period (T) หาได้ดังนี้
                T             =        (4.2 div.) (1 ms/div.)          =    4.2   x   10­-3 s
                Td            =        (2.2 div.) (100 us/div.)       =    220  x   10­-6 s
                ค่าเฟส     =        Td/T   x   360o    =    18.86  องศา
                ) โดยใช้  Lissajous Patterns

                การวัดเฟสโดยอาศัย Lissajous Patterns ต่ออุปกรณ์วัดดังวงจรในรูปที่ 20
                ในการวัดเช่นนี้ ปุ่ม time/div จะปรับไปอยู่ที่ตำแหน่ง off เพื่อให้ออสซิลโลสโคปทำงานในโหมด X-Y รูปทรงที่ปรากฏบนจอหลอด CRT จะใช้ในการคำนวณหาค่าความต่างเฟส ทั้งนี้ เฟสที่สามารถคำนวณจากสูตร (ดูรูปที่ 21 ประกอบ)
                                                เฟส        =        sin-1(A/B)
                โดยที่ A คือ ระยะที่รูปทรงตัดแกน x

                          B คือ ความสูง(ในแนวแกน x) ของรูปทรง
                แม้ว่าเราจะสามารถทดสอบวงจรขยายสัญญาณ โดยการป้อนสัญญาณไฟสลับที่แปรขนาดและความถี่เพื่อหาค่าเฟส อัตราการขยาย และการตอบสนองต่อความถี่ เป็นต้น แต่วิธีนี้จะใช้เวลานาน น่าเบื่อ และไม่ได้ผลในการกำหนดคุณสมบัติประจำต่อ Transient ของวงจรขยาย การทดสอบโดยใช้สแควร์เวฟ จะเป็นการวัดความเป็นเชิงเส้น (Linearity) Transient และลักษณะจำเพาะด้านความถี่ของวงจรขยายอย่างได้ผล การทดสอบโดยวิธีนี้จะใช้อย่างกว้างขวางในการทดสอบวงจรขยายย่านความถี่ต่ำและปานกลาง
                โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ (การวิเคราะห์แบบ Fourier) จะแสดงให้เห็นว่า สแควร์เวฟที่มีความถี่ในการเกิดพัลส์ซ้ำ (Pulse Repetition Frequency, PRF) เท่ากับ fs จะประกอบด้วย สัญญาณรูปซายน์ ซึ่งมีความถี่ fs (ฟันดาเมนทัล) และฮาร์โมนิกคี่ (Odd Harmonics) จำนวนอนันต์

                ถ้าสแควร์เวฟ มีขนาด Ep และความถี่ในการเกิดพัลส์ซ้ำ fs โดยการใช้การวิเคราะห์แบบ Fourier จะสามารถแทนสแควร์เวฟในรูป
                Ep/ {sin2 fst + (1/3)sin[(3) (2 fst)] + (1/5)sin[(5) (2 fst)] + ….}

                ตามรูปที่ 23 จะแสดงถึงสแควร์เวฟที่เกิดขึ้น โดยการรวมสัญญาณที่เป็นฟันดาเมนทัลและฮาร์โมนิกที่ 3, 5, 7 และ 9 ดังนั้นการที่ป้อนสแควร์เวฟเข้าสู่วงจรขยายอาจพิจารณาได้ว่า เหมือนกับการป้อนคลื่นรูปซายน์จำนวนอนันต์เข้าไปพร้อมๆ กัน

                นอกจากนี้ เรายังอาจประมาณค่าผลตอบสนองเชิงความถี่ของวงจรขยาย โดยการวัดค่า rise time และค่าความเอียง (tilt) ของรูปคลื่นสแควร์ด้านออก ดังแสดงในรูปที่ 26 จากรูปที่ 26 เราสามารถประมาณค่า การตอบสนองย่านความถี่สูงของวงจรของวงจรขยายได้จากสูตร
                                fhigh   =   0.35/tr
โดย        fhigh(= bandwidth) มีค่าเป็น เมกะเฮิรตซ์
                tr  (rise time) มีค่าเป็น microsecond
                ในทำนองเดียวกัน ความเอียงจะช่วยในการประมาณค่าการตอบสนองย่านความถี่ต่ำ จากสูตร
                                fL      =    Pfs/100
โดยที่      P   =    (Ed/Ep)  x  100 เรียกว่า เปอร์เซ็นต์ความเอียง (tilt)
                fs   =    pulse repetition frequency ของรูปคลื่นสแควร์
                   6.5) การทดสอบโดยใช้พัลซ์ (pulse)
                พัลซ์มักใช้ในการทดสอบวงจรขยายในย่านความถี่สูง และในวงจรสวิทชิ่งแบบดิจิตัล ช่วงมีสัญญาณ(duration) ของพัลซ์ควรจะสั้นเมื่อเทียบกับช่วงคาบ (period) ของมัน รูปที่ 27 เป็นตัวอย่างรูปคลื่นพัลซ์ที่พบกันโดยทั่วไป
                รูปที่ 28 แสดงการต่อวงจรเพื่อทำการทดสอบโดยใช้พัลซ์ ออสซิลโลสโคปจะใช้สัญญาณทริกเกอร์จากภายนอก (จากตัวกำเนิดสัญญาณพัลซ์) และปุ่มปรับความไวแนวตั้งกับตัวควบคุมความเร็วในการปรับภาพต้องปรับตั้งอย่างเหมาะสมเพื่อให้รูปคลื่นขาออก หยุดนิ่งบนจอหลอดภาพ
                สำหรับค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับสัญญาณพัลซ์ในรูปที่ 27 นั้นได้แก่
                PRE                =     1/T
และ        duty cycle        =                 pulse width/T
                                         =     (pulse width) x PRF
                สำหรับการวัดหาค่า rise time ของวงจรเราสามารถคำนวณหาได้จากสูตรต่อไปนี้
                                                t2r(dev)   =   t2r(meas) -  t2r(scope) -  t2r(PG)
โดยที่     tr(dev)   =   ค่า rise time ของวงจรซึ่งทำการทดสอบ
tr(meas) =   ค่า rise time เบ็ดเสร็จ (รวมค่า rise time ของออสซิลโลสโคป และของสัญญาณเอง) ซึ่งคือค่า rise time ที่วัดหาได้บนจอภาพ CRT นั่นเอง
tr(scope)                =   rise time ของออสซิลโลสโคป
tr(PG)    =   rise time ของตัวกำเนิดสัญญาณพัลซ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น