วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

4. การประยุกต์บริดจ์ความเหนี่ยวนำ


1.         การวัดอิมพีแดนซ์ของขดลวดลำโพง

ประโยชน์อย่างหนึ่งของบริดจ์เหนี่ยวนำคือ ใช้วัดอิมพีแดนซ์ Zx = (Zx = Rx + jωLx) ของขดลวดลำโพง เช่น ค่าที่วัดได้คือ Lx = 100µH โดยมี Q = 0.2 ที่ความถี่ 1 kHz ซึ่งหมายถึง
ωLx =  0.628, Rx = ωL/Q = 3.14 โอห์ม และ Zx = 3.2 โอห์ม โดยปกติเราจะหาค่าอิมพีแดนซ์ของมันที่ 1kHz และมันจะมีองค์ประกอบเชิงความต้านทาน มากกว่าองค์ประกอบเชิงความเหนี่ยวนำ ค่าพิกัดอิมพีแดนซ์สำหรับลำโพงคือ 4, 8 และ 16 โอห์ม


รูปแสดง ขดลวดภายในลำโพง

2.         การวัดความเหนี่ยวนำขดลวดเบี่ยงเบนของหลอด CRT

เราสามารถวัดค่าความเหนี่ยวนำ และอิมพีแดนซ์ของขดลวดเบี่ยงเบนของหลอดCRT โดยการใช้บริดจ์ความเหนี่ยวนำ ขดลวดสำหรับการเบี่ยงเบนแนวนอนสำหรับหลอดภาพขนาดเล็ก จะมีค่าความเหนี่ยวนำประมาณ 8.2 mH และมีความต้านทานของขดลวดเท่ากับ 13 โอห์ม ซึ่งเปรียบได้กับค่า Q เท่า 4 ที่ 1 kHz ขดลวดเบี่ยงเบนแนวตั้งที่ Yoke เดียวกันจะมีค่าเหนี่ยวนำ 4.8 mH และความต้านทานของขดลวด 65 โอห์ม ซึ่งเปรียบได้กับค่า Q เท่ากับ 0.46 ที่ 1 kHz


รูปแสดง หลอด CRT



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น