วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2) หลอดคาโธดเรย์ (CRT)

รูปที่ 3 แสดงโครงสร้างภายในของหลอดโธดเรย์ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
(ก)      ส่วนที่เป็นปืนอิเล็กตรอน และส่วนโฟกัส
(ข)      ส่วนที่เป็นแผ่นเบี่ยงเบน
(ค)      จอเรืองแสง
(ง)       ส่วนที่เป็นตัวหลอดและขั้วทางไฟฟ้า

2.1) ปืนอิเล็กตรอน (Electron gun)
ประกอบด้วยตัวให้ความร้อน (heater) หรือไส้หลอด (filament), คาโธด,กริดควบคุม (control grid) และอาโนด คาโธดทำหน้าที่สร้างอิเล็กตรอน คาโธดมีขนาดเล็กทำด้วยนิกเกิลเป็นทรงกระบอกคล้ายดินสอล้อมรอบตัวให้ความร้อน คาโธดจะเป็นเส้นตรงบริเวณคอของซีอาร์ทีมีขนาดเล็ก ตรงไปยังจอภาพ ส่วนที่เป็นปลายปิดของคาโธดจะรวมกับชั้นของซีเซียมออกไซด์ (cesium oxide) เมื่อซีเซียมออกไซด์ได้รับความร้อนจากขดลวดตัวให้ความร้อนจนมีอุณหภูมิสูงมันจะปล่อยอิเล็กตรอนออกมา อิเล็กตรอนจะเริ่มเดือดที่ผิดของออกไซด์ มีลักษณะตัวให้ความร้อนจนมีอุณหภูมิสูงระหว่างคาโธดและจอภาพจะมีกริดและอาโนด อาโนดจะถูกไบอัสด้วยแรงดันในการเร่งประจุบวก จะทำให้มีการดึงดูดและเร่งให้อิเล็กตรอนไปจอภาพฟลูออเรสเซนต์
รูปที่ 4 ตัวให้ความร้อน/แบบของคาโธด

                กริดเป็นถ้วยนิกเกิล มีรูเล็กๆ อยู่รอบอาโนด อิเล็กตรอนจะผ่านรูเหล่านี้ไปยังอาโนดบนจอภาพ ระหว่างกริดกับคาโธดสามารถปรับแรงดันได้ระหว่าง 0 ถึง 50 โวลท์ หากศักย์ไฟฟ้าที่กริดเป็นค่าลบจะสามารถควบคุมให้อิเล็กตรอนผ่านไปยังจอภาพ คล้ายการขับประจุจากคาโธด หากแรงดันระหว่างกริดกับคาโธดเป็นศูนย์จะทำให้อิเล็กตรอน จำนวนมากถูกเร่งไปยังจอภาพทำให้จอสว่าง หากแรงดันระหว่างคาโธดกับกริดต่างกันมากๆ จะทำให้อิเล็กตรอนผ่านไปจอภาพได้เพียงเล็กน้อยทำให้จอภาพมัว จะเห็นได้ว่าแรงดันไบแอสนั้นใช้สำหรับควบคุมความสว่างของจอภาพ

2.2) ระบบการเบี่ยงเบน (Deflection system)
                ปืนอิเล็กตรอนและระบบโฟกัสร่วมถูกออกแบบให้สร้างจุดที่คมชัดขึ้นบนจอภาพ จุดต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากระบบการเบี่ยงเบน
                ระบบการเบี่ยงเบนนี้ประกอบด้วยแผ่นโลหะ 4 แผ่น เป็นแผ่นคู่ขนานที่ตั้งฉากซึ่งกันเละกัน อยู่เลยปืนอิเล็กตรอนไปทางคอของCRT แผ่นโลหะนี้ดูคล้ายกล่องที่มีด้านตามแนวนอนและแนวดิ่ง โดยที่แผ่นเบี่ยงเบนคู่นั้นจะมีทั้งแนวนอนและแนวดิ่ง
                แผ่นเบี่ยงเบนจะใช้ไฟฟ้าสถิตควบคุมลำแสงอิเล็กตรอน วิธีการเบี่ยงเบนของไฟฟ้าสถิตย์มาจากกฏการดึงดูดทางไฟฟ้า ไม่ใช่การดูดหรือการผลักของประจุ ถ้าแผ่นเบี่ยงแบนในแนวนอนและแนวดิ่งไม่มีประจุ (เป็นกราวนด์) ลำแสงอิเล็กตรอนจะไปกระทบจอตรงกลางแผ่น ทำให้เกิดจุดสว่างตรงกลางจอ ถ้าแผ่นใดมีประจุจะมีผลกับทิศทางของลำแสงอิเล็กตรอน ทำให้ได้ลำแสงเกิดขึ้นบนจอที่จุดต่างๆกัน
                แผ่นแต่ละคู่จะทำงานต่างกัน ถ้าป้อนประจุบวกให้แผ่นหนึ่ง อีกแผ่นจะมีประจุลบที่มีศักย์เท่ากัน ศักย์เท่ากันแต่ประจุตรงข้ามนี้มีผลกับความเร่งของลำแสง พิจารณากรณีที่แผ่นหนึ่งเป็นบวกหรือลบแต่อีกแผ่นเป็นกราวนด์ศักย์ตรงกลางระหว่างแผ่นอาจมากกว่าหรือน้อยกว่าศูนย์ก็ได้ขึ้นอยู่กับขั้ว ทำให้เกิดความเร่งหรือความหน่วงในแนวนอนของอิเล็กตรอน และจะทำให้ความเร็วของลำแสงเปลี่ยนไปได้ ในที่นี้ใช้แรงดันแผ่นบวกและแผ่นลบเป็น +E/2 และ –E/2 หากสร้างแรงดันระหว่างแผ่นเป็นศูนย์โวลท์จะไม่มีผลกับความเร็วของลำแสงอิเล็กตรอน แต่จะมีผลกับทิศทางของลำแสงที่มีศักย์ไฟฟ้า E ในการป้องกันการกระทำกันระหว่างแผ่นในแนวนอนและในแนวดิ่งก็ทำชีลด์ (shield) ให้เป็นกราวนด์ระหว่างคู่การเบี่ยงเบน

                ความไว (sensitivity) ของแรงดันการเบี่ยงเบนของลำแสงอิเล็กตรอนขึ้นอยู่กับตำแหน่งของแผ่นเบี่ยงเบนและความเร็วของอิเล็กตรอน ตำแหน่งแผ่นเบี่ยงเบนจะตามการออกแบบเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ความเร็วของลำแสงควบคุมได้จากการใช้แรงดันจากภายนอก
รูปที่ 5 ระบบการเบี่ยงเบน
                ระบบการเบี่ยงเบนมักจะมีความไวสูงในขณะที่อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อย่างช้าๆ สามารถลดความเร็วของอิเล็กตรอนได้โดยการลดแรงดันที่ใช้เร่งอาโนด ความเร็วของลำแสงมีผลกับความสว่างของจอภาพ ยิ่งความเร็วต่ำจอภาพจะยิ่งมัว จึงต้องมีการเลือกใช้ความเร่ง อิเล็กตรอนจะมีการเพิ่มพลังงานหลังจากที่ผ่านแผ่นหักเหได้ด้วยการใช้แรงดันที่มีค่าสูงและการใช้ตัวรวบรวมกระแส(collector ring) แรงดันนี้มีค่าประมาณ +12 kV อิเล็กตรอนจะออกจากแผ่นหักแหด้วยความเร่งอย่างต่อเนื่อง และจะมีแรงดันเพิ่มขึ้นตามระยะทางที่มันเคลื่อนที่ไป และจะมีแรงดึงดูดสูงสูดที่จอภาพ ในการออกแบบต้องควบคุมให้ลำแสงอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านไปอย่างช้าๆ และได้ความเร็วที่ทำให้จอภาพสว่างที่สุด
                ความไวของแรงดันการเบี่ยงเบนของลำแสงอิเล็กตรอนแสดงได้ 2 วิธีคือ แรงดันที่ทำให้ลำแสงเคลื่อนที่ไปได้ 1 เซนติเมตร (V/cm) เรียกว่าตัวประกอบการเบี่ยงเบน (deflection factor) และแรงดัน 1 โวลท์ที่คร่อมแผ่นหักเห (cm/V) เรียกว่าความไวการหักเห(deflection sensitivity)

                2.3) จอเรืองแสงของหลอดคาโธดเรย์
                เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งชนแผ่นจอภาพของ CRT จะเกิดจุดเรืองแสงขึ้น ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดจากวัสดุฉาบบนจอภาพด้านในของ CRT ซึ่งเป็นสารจำพวกฟอสเฟอร์ ฟอสเฟอร์จะดูดซับพลังงานจลน์ของอิเล็กตรอนที่วิ่งเข้าชน แล้วปล่อยแสงเมื่อได้รับการกระตุ้นโดยรังสีจากภาพนอก(ในกรณีนี้คือ ลำอิเล็กตรอน) เรียกกันว่า ฟลูออเรสเซนซ์(fluorescence) วัสดุเรืองแสงเหล่านี้ยังมีลักษณะสมบัติอีกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า ฟอสเฟอเรสเซนช์(phosphorescence) ซึ่งหมายถึง ความสามารถของสารในการปล่อยแสงออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าต้นแหล่งของการกระตุ้น(ลำอิเล็กตรอน) จะหมดไปแล้วก็ตาม ช่วงระยะเวลาที่เกิดการเรืองแสงต่อเนื่องเช่นนี้เรียกว่า ความคงสว่าง(persistence) ของฟอสเฟอร์ ความคงสว่างของฟอสเฟอร์มักวัดกันโดยพิจารณาจากช่วงเวลาที่ภาพบนจอ CRT ค่อยๆ จางลงจนถึงค่า 10 เปอร์เซ็นต์ของระดับความสว่างในตอนต้น ค่าความคงสว่างของฟอสเฟอร์แต่ละชนิดมีค่าต่างๆกัน ตั้งแต่ประมาณ 20 จนถึง 1,500 mS
                ความเข้มของแสงที่จอภาพ CRT ปล่อยออกมา ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ประการแรก ความเข้มของแสงจะขึ้นกับจำนวนของอิเล็กตรอนที่พุ่งชนจอภาพต่อวินาที ถ้าหากเพิ่มกระแสอิเล็กตรอน ก็จะยังผลให้ความเข้ม เรียกกันว่า ลูมิแนนช์(luminance) เพิ่มมากขึ้นด้วย ประการที่สอง ความเข้มของแสงขึ้นกับพลังงานของอิเล็กตรอนที่วิ่งเข้าชน และซึ่งแปรเปลี่ยนตามศักดาไฟฟ้าที่ใช้ในการเร่งลำอิเล็กตรอน การเพิ่มศักดาไฟฟ้าเพื่อเร่งลำอิเล็กตรอน จะทำให้ความเข้มของแสงเพิ่มตาม ประการที่สาม ความเข้มของแสงยังแปรเปลี่ยนกับระยะเวลาที่ลำอิเล็กตรอนชนบริเวณเรืองแสงของจอ CRT กล่าวคือ ถ้าความเร็วในการกวาดภาพเพิ่มขึ้น(ในกรณีที่รูปคลื่นสัญญาณมีความถี่สูงขึ้น) ระยะเวลาที่ลำอิเล็กตรอนชนบริเวณเรืองแสงก็จะสั้นลงอันยังผลให้ความเข้มของแสงลดตามลงด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น