วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Measurement&Instruments

ถึงผู้เยี่ยมชมทุกท่าน~

     เนื้อหาที่ถูกจัดทำขึ้นในBlogนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางการศึกษาให้แก่ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องของ การวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า โดยเนื้อหาในBlogนี้
จะประกอบไปด้วย
1.Oscilloscope แบบขดลวด CRT
2.การวัดค่าความเหนี่ยวนำไฟฟ้า

      ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างสูงว่า เนื้อหาในBlogนี้จะสร้างประโยชน์ต่อผู้เยี่ยมชมไม่มาก
ก็น้อย 







คณะผู้จัดทำ

นายปวเรศ  อำไพ 55070500425 2A  (การวัดค่าความเหนี่ยวนำไฟฟ้า)
นายวัชรวิทย์     นาละออง 55070500471 2B (Oscilloscope แบบ CRT)

การวัดค่าความเหนี่ยวนำ (ภาคปฏิบัติ)


เรามาเรียนรู้วิธีการวัดค่าความเหนี่ยวนำของตัวเหนี่ยวนำ(ไม่ทราบค่า)กันเถอะ

วิธีการวัดค่าความเหนี่ยวนำอย่างง่าย ( Step by Step )
1.ต่อตัวต้านทาน 50 โอห์ม ที่ช่ิอง output ของ generator ของ Oscilloscope และ เลือกสัญญาณ
sine wave
2.ปรับค่าความถี่ของ generator ให้อยู่ประมาณ 20 kHz
3.ปรับค่า output voltage ของ generator ไปที่ 1 Volt peak-peak
4.ต่อตัวเหนี่ยวนำที่ไม่ทราบค่าแบบขนานกับOscilloscope (ดังรูป A) พร้อมวัดค่าสัญญาณ
5.ขณะนี้ปรับเพียงความถี่ของgeneratorในลักษณะที่ทำให้จุดสูงสุดของคลื่นเป็นครึ่งหนึ่งของค่าเดิม
(0.5 Vp-p)
6.อ่านค่าความถี่และคำนวณหาค่าความเหนี่ยวนำ จากสูตร   L  =  (4.57) / f  


Videoประกอบการปฏิบัติ








วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

6) การประยุกต์ใช้งาน

                6.1) การวัดแรงดัน
                เมื่อนำเอาออสซิลโลสโคปไปใช้วัดแรงดัน วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การวัดค่าแรงดันจากยอดถึงยอด (Peak-to-Peak eP-P) และอาศัยความสัมพันธ์ที่แน่นอน จะสามารถคำนวณกลับมาเป็นค่าเฉลี่ยหรือค่าประสิทธิผลได้ โดยการป้อนสัญญาณที่ต้องการวัดเข้าที่อินพุตแนวตั้ง และ (ในกรณีนี้) อาศัยโพรบแบบ 10 : 1 โดยการปรับความไว อัตราสวีป และปุ่มควบคุมการทริกที่เหมาะสม จะเกิดภาพของสัญญาณที่นิ่ง และควรมีขนาดใหญ่เต็มจอให้มากเท่าที่จะทำได้ ค่าแรงดันจากยอดถึงยอดจะมีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างความไวของวงจรขยายตามแนวตั้ง จำนวนช่องที่อ่านได้จากจอ กับการลดทอนของโพรบสำหรับสัญญาณ ที่แสดงในรูปที่ 15
                VP-P  =   จำนวนช่อง x ความไวตามแนวตั้ง x การลดทอนของสายต่อวัด
                        =   (4.8 DIV) (0.01 V/DIV) (10)
                        =   0.48  V
                สำหรับคลื่นรูปซายน์
                Vrms =  VP-P /2.828  =  0.48/2.828  =       0.1697  Vrms
                6.2) การวัดความถี่
                ในการวัดค่าความถี่โดยการเปรียบเทียบ ทำได้โดยต่อวงจรดังรูปที่ 16 สัญญาณที่เรารู้ค่าความถี่จะต่อเข้ากับขั้วทางแนวนอน ขณะที่สัญญาณที่ไม่รู้ค่าความถี่ จะต่อเข้ากับขั้วเข้าทางแนวตั้ง ในการวัด เราจะบิดปุ่มการกวาดภาพ (time/div) ไปจนตำแหน่ง off เพื่อให้ออสซิลโลสโคปทำงานอยู่ในโหมดของ X-Y (ปรกติจะทำงานในโหมด X-t)
                เมื่อป้อนสัญญาณเข้าตามรูปที่ 16 แล้ว เราจะได้รูปคลื่นหยุดนิ่งบนจอหลอดภาพ ดังแสดงในรูปที่ 17 (ในกรณีที่รูปคลื่นไม่หยุดนิ่ง แสดงวัดสัดส่วนความถี่ของสัญญาณไม่ได้เป็นไปตามรูป เราอาจต้องปรับค่าความถี่รู้ค่า จนได้สัดส่วนตามต้องการ รูปคลื่นก็จะหยุดนิ่ง) เมื่อรูปคลื่นหยุดนิ่ง เราสามารถหาความถี่ของสัญญาณแนวตั้งจากสูตร

                                                fv             =             (th/tv)fh
ทั้งนี้       fv คือ ความถี่ป้อนเข้าทางแกนตั้ง
                Fh คือ ความถี่ป้อนเข้าทางแกนนอน
                tn คือ จำนวนครั้งที่รูปสัมผัสแกนนอน

                tv คือ จำนวนครั้งที่รูปสัมผัสกับแกนตั้ง
                 6.3) การวัดเฟส
                ก) แบบใช้ออสซิลโลสโคปแบบกวาด 2 เส้น
                รูปที่ 18 แสดงการต่อวงจร เพื่อวัดเฟสที่เกิดขึ้นจากวงจรขยายในรูป
                รูปคลื่นที่ปรากฏบนจอหลอดภาพ CRT จะเป็นดังรูปที่ 19 จากรูปคลื่นสัญญาณที่ได้ เราจะสามารถนำไปคำนวณหาค่าเฟสที่เกิดขึ้นได้
                ในรูปที่ 8.27 (ก) เป็นการปรับ time/div เพื่อให้สามารถวัดค่าคาบของรูปคลื่นได้ ขณะเดียวกันถ้าต้องการวัดความแตกต่างของเวลา (Td) ระหว่างลูกคลื่น จำเป็นต้องปรับ time/div ให้ย่อยขึ้น เพื่อให้อ่านค่าได้ จากค่าที่อ่านบนจอหลอดภาพ จะสามารถนำไปคำนวณหาเฟสได้ดังนี้
                                เฟสที่เกิด (องศา)  =  Td/ T x 360­­­­­o
แต่ period (T) หาได้ดังนี้
                T             =        (4.2 div.) (1 ms/div.)          =    4.2   x   10­-3 s
                Td            =        (2.2 div.) (100 us/div.)       =    220  x   10­-6 s
                ค่าเฟส     =        Td/T   x   360o    =    18.86  องศา
                ) โดยใช้  Lissajous Patterns

                การวัดเฟสโดยอาศัย Lissajous Patterns ต่ออุปกรณ์วัดดังวงจรในรูปที่ 20
                ในการวัดเช่นนี้ ปุ่ม time/div จะปรับไปอยู่ที่ตำแหน่ง off เพื่อให้ออสซิลโลสโคปทำงานในโหมด X-Y รูปทรงที่ปรากฏบนจอหลอด CRT จะใช้ในการคำนวณหาค่าความต่างเฟส ทั้งนี้ เฟสที่สามารถคำนวณจากสูตร (ดูรูปที่ 21 ประกอบ)
                                                เฟส        =        sin-1(A/B)
                โดยที่ A คือ ระยะที่รูปทรงตัดแกน x

                          B คือ ความสูง(ในแนวแกน x) ของรูปทรง
                แม้ว่าเราจะสามารถทดสอบวงจรขยายสัญญาณ โดยการป้อนสัญญาณไฟสลับที่แปรขนาดและความถี่เพื่อหาค่าเฟส อัตราการขยาย และการตอบสนองต่อความถี่ เป็นต้น แต่วิธีนี้จะใช้เวลานาน น่าเบื่อ และไม่ได้ผลในการกำหนดคุณสมบัติประจำต่อ Transient ของวงจรขยาย การทดสอบโดยใช้สแควร์เวฟ จะเป็นการวัดความเป็นเชิงเส้น (Linearity) Transient และลักษณะจำเพาะด้านความถี่ของวงจรขยายอย่างได้ผล การทดสอบโดยวิธีนี้จะใช้อย่างกว้างขวางในการทดสอบวงจรขยายย่านความถี่ต่ำและปานกลาง
                โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ (การวิเคราะห์แบบ Fourier) จะแสดงให้เห็นว่า สแควร์เวฟที่มีความถี่ในการเกิดพัลส์ซ้ำ (Pulse Repetition Frequency, PRF) เท่ากับ fs จะประกอบด้วย สัญญาณรูปซายน์ ซึ่งมีความถี่ fs (ฟันดาเมนทัล) และฮาร์โมนิกคี่ (Odd Harmonics) จำนวนอนันต์

                ถ้าสแควร์เวฟ มีขนาด Ep และความถี่ในการเกิดพัลส์ซ้ำ fs โดยการใช้การวิเคราะห์แบบ Fourier จะสามารถแทนสแควร์เวฟในรูป
                Ep/ {sin2 fst + (1/3)sin[(3) (2 fst)] + (1/5)sin[(5) (2 fst)] + ….}

                ตามรูปที่ 23 จะแสดงถึงสแควร์เวฟที่เกิดขึ้น โดยการรวมสัญญาณที่เป็นฟันดาเมนทัลและฮาร์โมนิกที่ 3, 5, 7 และ 9 ดังนั้นการที่ป้อนสแควร์เวฟเข้าสู่วงจรขยายอาจพิจารณาได้ว่า เหมือนกับการป้อนคลื่นรูปซายน์จำนวนอนันต์เข้าไปพร้อมๆ กัน

                นอกจากนี้ เรายังอาจประมาณค่าผลตอบสนองเชิงความถี่ของวงจรขยาย โดยการวัดค่า rise time และค่าความเอียง (tilt) ของรูปคลื่นสแควร์ด้านออก ดังแสดงในรูปที่ 26 จากรูปที่ 26 เราสามารถประมาณค่า การตอบสนองย่านความถี่สูงของวงจรของวงจรขยายได้จากสูตร
                                fhigh   =   0.35/tr
โดย        fhigh(= bandwidth) มีค่าเป็น เมกะเฮิรตซ์
                tr  (rise time) มีค่าเป็น microsecond
                ในทำนองเดียวกัน ความเอียงจะช่วยในการประมาณค่าการตอบสนองย่านความถี่ต่ำ จากสูตร
                                fL      =    Pfs/100
โดยที่      P   =    (Ed/Ep)  x  100 เรียกว่า เปอร์เซ็นต์ความเอียง (tilt)
                fs   =    pulse repetition frequency ของรูปคลื่นสแควร์
                   6.5) การทดสอบโดยใช้พัลซ์ (pulse)
                พัลซ์มักใช้ในการทดสอบวงจรขยายในย่านความถี่สูง และในวงจรสวิทชิ่งแบบดิจิตัล ช่วงมีสัญญาณ(duration) ของพัลซ์ควรจะสั้นเมื่อเทียบกับช่วงคาบ (period) ของมัน รูปที่ 27 เป็นตัวอย่างรูปคลื่นพัลซ์ที่พบกันโดยทั่วไป
                รูปที่ 28 แสดงการต่อวงจรเพื่อทำการทดสอบโดยใช้พัลซ์ ออสซิลโลสโคปจะใช้สัญญาณทริกเกอร์จากภายนอก (จากตัวกำเนิดสัญญาณพัลซ์) และปุ่มปรับความไวแนวตั้งกับตัวควบคุมความเร็วในการปรับภาพต้องปรับตั้งอย่างเหมาะสมเพื่อให้รูปคลื่นขาออก หยุดนิ่งบนจอหลอดภาพ
                สำหรับค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับสัญญาณพัลซ์ในรูปที่ 27 นั้นได้แก่
                PRE                =     1/T
และ        duty cycle        =                 pulse width/T
                                         =     (pulse width) x PRF
                สำหรับการวัดหาค่า rise time ของวงจรเราสามารถคำนวณหาได้จากสูตรต่อไปนี้
                                                t2r(dev)   =   t2r(meas) -  t2r(scope) -  t2r(PG)
โดยที่     tr(dev)   =   ค่า rise time ของวงจรซึ่งทำการทดสอบ
tr(meas) =   ค่า rise time เบ็ดเสร็จ (รวมค่า rise time ของออสซิลโลสโคป และของสัญญาณเอง) ซึ่งคือค่า rise time ที่วัดหาได้บนจอภาพ CRT นั่นเอง
tr(scope)                =   rise time ของออสซิลโลสโคป
tr(PG)    =   rise time ของตัวกำเนิดสัญญาณพัลซ์


5) ระบบเบี่ยงเบนแนวนอน

                ออสซิลโลสโคปมักแสดงรูปคลื่นขาเข้าบนจอภาพ CRT โดยเป็นฟังก์ชั่นของเวลา ดังนั้นจึงต้องมีแรงดันเบี่ยงเบนแนวนอนที่สามารถกวาดจุดเรืองแสงบนจอภาพให้เคลื่อนที่จากด้านซ้ายไปทางขวาของจอ โดยมีความเร็วคงที่ กับทั้งต้องสามารถกวาดกลับมายังจุดเริ่มต้นทางด้านซ้ายของจอภาพ เพื่อเตรียมการกวาดภาพต่อไปได้ แรงดันกวาดหรือฐานเวลานี้จะเกิดขึ้นจากวงจรกำเนิดสัญญาณกวาดภาพ ภายในระบบเบี่ยงเบนแนวนอนของออสซิลโลสโคป
                รูปที่ 9 แสดงแรงดันกวาดภาพที่ควรจะเป็น ค่าแรงดันดังกล่าวจะค่อยๆ เพิ่มจากค่าต่ำสุดจนถึงค่าแรงดันสูงสุดค่าหนึ่ง แล้วแรงดันก็ลดลงอย่างรวดเร็ว ลงสู่ค่าแรงดันต่ำสุดใหม่ รูปคลื่นนี้จะมีลักษณะเป็นรูปคลื่นฟันเลื่อย ดังแสดงในรูป ช่วงที่แรงดันค่อยๆ เพิ่มขึ้นเราเรียกว่า แรงดันลาด (ramp voltage) ในช่วงเวลานี้ (TSจุดเรืองแสงบนจอภาพจะถูกกวาดจากด้านซ้ายของภาพไปทางขวาของจอภาพ ในช่วงเวลากวาดกลับ (Tr) แรงดันกวาดภาพจะลดลงอย่างรวดเร็ว และจุดเรืองแสงจะเคลื่อนกลับมาสู่จุดเริ่มต้นเดิมอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ในออสซิลโลสโคปที่ใช้ทั่วไป ลำอิเล็กตรอนถูกตัด (cut off) ในช่วงเวลากวาดกลับทั้งนี้เพื่อจะให้ไม่มีร่องรอยตอนกวาดกลับปรากฏบนจอภาพ

                รูปที่ 10 แสดงวงจรกำเนิดสัญญาณฟันเลื่อยที่สามารถใช้งานได้ เมื่อป้อนแรงดันให้กับวงจร ตัวเก็บประจุ C จะเริ่มเก็บประจุโดยผ่านความต้านทาน R ทำให้แรงดันอิมิตเตอร์ของ UJT ค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น เมื่อค่าแรงดันอิมิตเตอร์ (VE) เพิ่มสูงเท่าแรงดันยอด (VP) ของ UJT รอยต่อระหว่างอิมิตเตอร์กับขาของเบส B1 จะทำไฟฟ้า ทำให้ตัวเก็บประจุสามารถคายประจุผ่านรอยต่อนี้ไปยัง R1 ไหลลงกราวด์ได้ ดังนั้น แรงดัน VE จึงลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งรอยต่ออิมิตเตอร์กับขาของเบส B1 ไม่สามารถนำกระแสต่อไปได้ จากจุดนี้ตัวเก็บประจุก็จะเริ่มเก็บประจุใหม่ ลักษณะการเก็บและคายประจุเช่นนี้จะเกิดซ้ำกันเป็นจังหวะ และให้กำเนิดสัญญาณรูปคลื่นฟันเลื่อย ดังรูปที่ 10 (ข) 

                เพื่อช่วยปรับปรุงการกวาดภาพให้มีลักษณะเชิงเส้นมากขึ้น อาจต้องดัดแปลงการไบแอสวงจรในรูปที่ 10 โดยใช้ต้นแหล่งต่างกัน กล่าวคือ ใช้ตัวป้อนแรงดันต่ำสำหรับตัว UJT และตัวป้อนแรงดันสูงสำหรับส่วนวงจร RC
                ความถี่ของสัญญาณฐานเวลาอาจแปรเปลี่ยนได้โดยการปรับค่าของ R และ/หรือค่า C (คือเปลี่ยนค่าคงตัวเวลา RC) ในทางปฏิบัติสำหรับวงจรกวาดภาพของออสซิลโลสโคป ความต้านทาน R จะใช้ในการควบคุมและแปรค่าความถี่อย่างต่อเนื่อง (ตัวควบคุมแปรค่าได้หรือปุ่ม VARIABLE)  ส่วนตัวเก็บประจุ C จะใช้เพื่อเปลี่ยนช่วงความถี่ (โดยใช้ปุ่มควบคุมเวลาต่อช่อง TIME/DIV)
                5.1) การประสานจังหวะการกวาดภาพ (synchronization of the sweep)
                ตัวกำเนิดสัญญาณฟันเลื่อยในรูปที่ 10 มีลักษณะแบบกวาดอิสระ (free running) ทั้งนี้เพราะไม่มีกลไกควบคุมจากภายนอก สำหรับกระตุ้นให้มีการเริ่มการกวาดภาพไซเกิ้ลใหม่ วงจรดังรูปจะให้สัญญาณกวาดภาพ ที่เริ่มกวาดภาพทันทีที่ตัวเก็บประจุได้คายประจุออก จน UJT เปลี่ยนสภาพเป็นไม่นำกระแส สัญญาณกวาดภาพอิสระเช่นนี้อาจช่วยให้เกิดภาพที่มีเสถียรภาพบนหลอดภาพ CRT ได้ ทั้งนี้ความถี่ของสัญญาณเข้าแนวตั้งจะต้องสัมพันธ์กับความถี่สัญญาณกวาดภาพดังนี้
                                fv =  nfs                                                               -----------              (A)
โดยที่     fv  คือ ความถี่สัญญาณเข้าแนวตั้ง
                n  คือ ค่าเลขจำนวนเต็มใดๆ (1,2,3,…)
                fs คือ ความถี่สัญญาณกวาดภาพ
                รูปที่ 11 แสดงเงื่อนไขดังกล่าวนี้ กล่าวคือ fv = 2fs  ในกรณีเช่นนี้ภาพที่เกิดบนหลอดภาพ จะหยุดนิ่ง มีเสถียรภาพ แต่ถ้าเงื่อนไขตามสมการ (A) ไม่เป็นจริง ภาพที่เกิดบนหลอดภาพจะไม่เสถียรและจะค่อยๆ เลื่อนจากทางซ้ายไปทางขวาของจอภาพ เพื่อจะให้ได้ภาพที่หยุดนิ่ง ตัวกำเนิดสัญญาณกวาดภาพจะต้องทำงานเป็นจังหวะประสาน (synchronously) กับแหล่งสัญญาณเข้าแนวตั้ง
ในวงจรรูปที่ 10 (ก) เราสามารถประสานจังหวะการกวาดภาพได้โดยการป้อนสัญญาณซิงค์(Sync signal) เข้าที่ขั้วเข้าสัญญาณซิงค์ (Sync input) (ดูรูปประกอบ) สัญญาณซิงค์ที่ป้อนเข้ามุ่งที่จะลดค่าแรงดันยอด (peak voltage หรือ VP) ของ UJT ลง ซึ่งยังผลให้ค่าแรงดันลาดขึ้น (run up ramp) หยุดลงเร็วกว่าปกติ (ดูรูปที่ 12 ประกอบ) ในรูปที่ 12 เราจะเห็นได้ว่า รูปคลื่นฟันปลาจะถูกควบคุมให้มีจังหวะความถี่สอดคล้องกันกับสัญญาณซิงค์ที่ป้อนเข้ามา ในกรณีการประสานจังหวะจะทำได้ เฉพาะ เมื่อช่วงเวลา (T) ของสัญญาณซิงค์สั้นกว่าช่วงเวลา (To) ของรูปคลื่นฟันปลา
                 5.2) การกระตุ้นให้กวาดภาพ
                ออสซิลโลสโคปที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มักใช้หลักการของการกระตุ้นให้กวาดภาพ รูปที่ 13 (ก) แสดงการดัดแปลงวงจรกำเนิดสัญญาณฟันเลื่อยจากวงจรรูปที่ 13 สำหรับเป็นวงจรกวาดภาพ โดยการกระตุ้นตัวต้านทาน R3 และ R4 ทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งแรงดัน โดยค่า R3, R4 จะเลือกเพื่อว่าค่า VD ซึ่งต่อกับคาโธดของได้โอดจะมีแรงดันต่ำกว่าแรงดันยอด (VP) ของ UJT เมื่อวงจรนี้เริ่มทำงาน UJT จะอยู่ในสภาพไม่นำไฟฟ้า CT ในวงจรจะทำการเก็บประจุโดยผ่านความต้านทาน RT ค่าแรงดันคร่อม CT จะสูงขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งมีค่าสูงกว่า VD เมื่อถึงจุดนี้ไดโอดจะเริ่มนำกระแส ทำให้ค่าแรงดันคร่อม CT­­ ไม่สามารถเพิ่มสูงเกินกว่า VD แต่จะถูกตรึงให้มีค่าเท่ากับ VD นอกจากนั้น CT ยังไม่สามารถคายประจุออกได้ด้วย ถ้าหากมีพัลซ์ทริกเกอร์ค่าลบขนาดใหญ่เพียงพอ ป้อนให้กับขาเบสที่ 2 ของ UJT จะยังผลให้แรงดันยอด VP ของ UJT ลดลงกะทันหันชั่วขณะหนึ่ง UJT จะนำกระแสซึ่งทำให้ CT สามารถคายประจุผ่านตัว UJT ได้จนกระทั่ง UJT เปลี่ยนสภาพไม่นำกระแส ต่อจากนั้น CT ก็จะเริ่มเก็บประจุใหม่ และมีแรงดันคงที่อยู่ที่ค่า VD จนกว่าจะมีสัญญาณกระตุ้นต่อ รูปที่ 13 (ข) แสดงรูปคลื่นออกของตัวกำเนิดแรงดันกวาดภาพแบบมีการกระตุ้น
                5.3) วงจรขยายแนวนอน

                ในออสซิลโลสโคปที่ใช้กันทั่วไป ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสมรรถนะของวงจรขยายแนวนอน มักจะไม่สูงเท่ากรณีของวงจรขยายแนวตั้ง ในกรณีวงจรขยายแนวตั้ง วงจรที่ใช้ต้องสามารถขยายสัญญาณขนาดเล็กและมีช่วง risetime สั้นมากๆ ขณะที่วงจรแนวนอนทำหน้าที่ขยายสัญญาณกวาดภาพที่มีขนาดใหญ่กว่ากับทั้งมีค่า risetime ช้ากว่ากันมาก อย่างไรก็ตาม อัตราขยายของวงจรขยายแนวนอนต้องมีขนาดใหญ่กว่าวงจรขยายแนวตั้ง ทั้งนี้เพราะความไวการเบี่ยงเบนแนวนอนของหลอด CRT จะดีสู้ความไวในการเบี่ยงเบนอแนวตั้งไม่ได้
                 รูปที่ 14 แสดงบล็อกไดอะแกรมของวงจรขยายแนวนอนซึ่งใช้กันทั่วไป ภาคขยายแนวนอนจะประกอบด้วย วงจรขยายสัญญาณเข้า วงจรขยายพาราเฟส (paraphase amplifier) และวงจรขยายพุช-พูลสัญญาณเข้าจากตัวกำเนิดสัญญาณกวาดภาพ มักเป็นสัญญาณฐานเวลาลาดขึ้น มีค่ายอด 10 โวลต์

3) ระบบควบคุมการเบี่ยงเบนแนวตั้ง

                ระบบควบคุมการเบี่ยงเบนแนวตั้งจะต้องสามารถทำซ้ำให้เกิดรูปคลื่นของสัญญาณเข้า ได้อย่างถูกต้องเหมือนเดิม ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขการทำงานที่กำหนดไว้ ในแง่ความกว้างแถบความถี่ (bandwidth), risetime และขนาดของสัญญาณ (amplitude) นอกจากนี้ ระบบควบคุมการเบี่ยงเบนแนวตั้งนี้ยังทำหน้าที่เป็นวงจรกั้นแบ่ง(buffer) ระหว่างแหล่งสัญญาณกับแผ่นเบี่ยงเบนของหลอดภาพ ระบบนี้ยังอาจแบ่งออกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีก 4 ส่วนคือ
ก)      ตัวโพรบของออสซิลโลสโคป
ข)      ตัวเลือกสัญญาณเข้า
ค)      ตัวลดทอนสัญญาณเข้า
ง)      วงจรขยายสัญญาณแนวตั้ง
                
                 3.1) ตัวโพรบของออสซิลโลสโคป
                ตัวโพรบของออสซิลโลสโคปมีหน้าที่สำคัญในการเชื่อมโยงวงจรที่กำลังตรวจวัดอยู่ เข้ากับขั้วต่อสัญญาณเข้าของออสซิลโลสโคป ทั้งนี้โดยต้องไม่ส่งผลในการโหลด หรือรบกวนต่อวงจรที่กำลังวัดอยู่ โพรบที่มีใช้กันยังอาจจำแนกออกเป็น 4 จำพวกใหญ่ๆ อันได้แก่ โพรบแรงดันแบบไม่ไวงาน(passive), โพรบแรงดันแบบไวงาน(active), โพรบกระแส และโพรบแรงดันสูง

                3.2) ตัวเลือกสัญญาณเข้า
รูปที่ 6 แสดงตัวเลือกสัญญาณเข้าที่มีสวิทช์แบบสามทาง คือ ไฟสลับ กราวนด์ และไฟตรง เมื่อบิดปุ่มเลือกไปที่ตำแหน่งไฟสลับ สัญญาณจะถูกต่อโยงเข้าสู่ตัวลดทอนสัญญาณโดยผ่านตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุทำหน้าที่กั้นส่วนไฟตรงของรูปคลื่นขอเข้า และยอมปล่อยที่ให้เฉพาะส่วนไฟสลับเข้าสู่วงจรขยายตัวเลือกสัญญาณจะมีประโยชน์ในการวัดสัญญาณไฟสลับที่เข้าสู่วงจรขยาย ถ้าหากเราบิดปุ่มเลือกไปที่ไฟตรงสัญญาณแรงดันทั้งส่วนไฟตรงและไฟสลับจะสามารถผ่านเข้าสู่วงจรขยายได้ การวัดค่าในโหมดนี้จะช่วยให้เราสามารถรู้ค่าแรงดันเฉียบพลัน (instantaneous) ของทั้งส่วนไฟตรงและไฟสลับ
จุดสำหรับต่อกราวนด์ช่วยทำให้เรากำหนดตำแหน่งอ้างอิงของเส้นบนจอภาพ ในขณะที่สัญญาณเป็นศูนย์ได้ นอกจากนั้น ยังช่วยในการกำจัดประจุที่อาจตกค้างอยู่ในส่วนลดทอนสัญญาณเข้าโดยการต่อส่วนนั้นลงกราวนด์ได้

3.3) ตัวลดทอนสัญญาณเข้า
ตัวลดทอนสัญญาณเข้าประกอบด้วยตัวแบ่งแรงดันแบบ RC หลายตัว ซึ่งสามารถควบคุมโดยปุ่มควบคุมบนแผงหน้าปัดของออสซิลโลสโคปที่เป็นตัวเลือกโวลต์ต่อช่อง (Volts/Div) ปุ่มควบคุมเหล่านี้มักมีลำดับเป็น 1-2-5 ช่วงการลดทอนสัญญาณของปุ่มควบคุมนี้ โดยทั่วไปจะเป็น 0.1, 0.2, 0.5, 1, 2, 5, 10, 20 และ 50 โวลต์ต่อช่อง
เพื่อจะให้ออสซิลโลสโคปทำงานในลักษณะเชิงเส้นตลอดช่วงความถี่ที่กำหนด (โดยทั่วไปประมาณจากช่วงไฟตรงถึง 25 เมกะเฮิรตซ์) การทำงานของตัวลดทอนสัญญาณต้องไม่แปรเปลี่ยนตามการเปลี่ยนแปลงของความถี่ ดังนั้น จึงทำให้มีความจำเป็นต้องชดเชยตัวลดทอนแรงดัน (compensated attenuator) หลักการปรับชดเชยตัวลดทอนสัญญาณจะเหมือนกันกับกรณีการปรับชดเชยโพรบวัดของออสซิลโลสโคป ในวงจรลดทอนแรงดันของออสซิลโลสโคปนี้ ค่าของความต้านทานและตัวเก็บประจุที่ใช้จะคัดเลือกอย่างเหมาะสมเพื่อว่าอิมพีแดนซ์ด้านเข้าของวงจรภาคแนวตั้งจะมีค่าคงที่ ไม่ว่าปุ่มควบคุมโวลต์ต่อช่องจะปรับตั้งไว้อย่างไรก็ตามค่าทั่วๆ ไป ของอิมพีแดนซ์ด้านข้าวของออสซิลโลสโคปจะเป็น 1 เมกะโอห์ม ต่อชันต์กับตัวเก็บประจุขนาด 33 pF

3.4) วงจรขยายแนวตั้ง
                วงจรขยายแนวตั้งมักประกอบด้วยภาคขยายสองภาคที่สำคัญคือ วงจรขยายปรีแอมป์ (preamplifer) และวงจรขยายหลัก (main amplifier)
                วงจรขยายปรีแอมป์จะมีองค์ประกอบส่วนแรกเป็นภาคสัญญาณเข้า ซึ่งมักใช้วงจรซ๊อสโฟโลเวอร์ของ FET วงจรเช่นนี้จะมีอิมพีแดนซ์ด้านเข้าที่สูงมาก ทำให้ช่วยเป็นตัว buffer ระหว่างวงจรขยายกับตัวลดทอนสัญญาณออกจากกัน ถัดจากภาคสัญญาณเข้าของ FET มักจะมีวงจรอิมิตเตอร์โฟโลเวอร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวอินเตอร์เฟสระหว่างวงจร FET ที่มีอิมพีแดนซ์ด้านออกค่อนข้างสูง เข้ากับวงจรกลับเฟสซึ่งมีอิมพีแดนซ์ด้านเข้าค่อนข้างต่ำ วงจรกลับเฟสจะป้อนสัญญาณออกที่มีเฟสตรงข้ามกันเพื่อขับดันวงจรพุช-พูล (push-pull) ขาออกต่อไป ภาคสุดท้ายของภาควงจรปรีแอมป์นี้ จะป้อนแรงดันที่จำเป็นสำหรับขับดันวงจรขยายแนวตั้งต่อไป

                วงจรขยายกำลัง (main vertical amplifier) ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายในรูปที่ 7 จะประกอบด้วยวงจรขับดัน (driver amplifier) และวงจรขยายพุช-พูล วงจรขยายพุช-พูลนี้จะป้อนสัญญาณแรงดันขนาดเท่ากันแต่มีเฟสตรงข้ามกันให้แก่แผ่นเบี่ยงเบนแนวตั้งของหลอด CRT